ปัญหาของระบบ MRP

ปัญหาของระบบ MRP
                   ปัญหาหลัก ๆ ของระบบ MRP ก็คือ การรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมด ถ้ามีข้อผิดพลาดใด ๆ ของข้อมูลที่มีอยู่นั่นหมายถึง Bill of materials (BOM), Master Production Schedule (MPS) ก็จะให้ผลที่ไม่ถูกต้องไปด้วย หรือที่ภาษาอังกฤษย่อว่า GIGO (Garbage in, garbage out) โดยส่วนใหญ่แล้วการรวบรวมข้อมูลให้ได้อย่างน้อย 99% ก็ถือว่าเพียงพอสำหรับการทำงานที่ดีของระบบ

                   ปัญหาหลักอีกปัญหาหนึ่งของระบบ MRP ก็คือ ความต้องการที่ผู้ใช้ระบุแบบเฉพาะเจาะจงในเรื่องของระยะเวลาในการผลิตชิ้นส่วน หรือแม้แต่การระบุว่าการผลิตจะใช้เวลาเท่าเดิมตลอดเวลาโดยไม่คำนึงถึงปริมาณที่จะผลิตหรือชนิดของผลิตภัณฑ์

                   การผลิตอาจจะมีอยู่หลาย ๆ เมืองหรือหลายประเทศด้วยกัน แต่ไม่ใช่เรื่องดีสำหรับระบบ MRP ที่จะบอกว่าเราไม่จำเป็นต้องต้องสั่งซื้อวัสดุเนื่องจากเรายังมีอยู่จากโรงงานอื่นที่อยู่ห่างไกลหลายพันกิโลเมตร เพราะฉะนั้นระบบ ERP (Enterprise resource planning) จำเป็นต้องถูกนำมาใช้เฉพาะโรงงานนั้น ๆ ไม่ควรจะครอบคลุมทั้งหมดทุกโรงงานสิ่งนี้ก็คงหมายถึงว่าระบบอื่น ๆ ที่มีอยู่จำเป็นต้องทำงานอย่างถูกต้องก่อนที่จะใช้งานระบบ MRP

                   การผลิตอาจจะกำลังผลิตบางชิ้นงาน และอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงชิ้นงานนั้นบางส่วนเป็นรุ่นใหม่ เพราะฉะนั้นระบบจะต้องทำการรองรับในทั้งสองรุ่นพร้อม ๆ กัน ระบบ ERP จำเป็นต้องมีการสร้างรหัสของชิ้นส่วนเพื่อให้ MRP สามารถคำนวณได้อย่างถูกต้องทั้งสองรุ่นด้วยเช่นกัน

                   ข้อเสียเปรียบหลักอื่น ๆ ของระบบ MRP ก็คือ ไม่ได้ใช้ในส่วนของกำลังการผลิตในการคำนวณ ซึ่งหมายความว่ามันจะให้ผลลัพธ์ที่ไม่น่าเป็นไปได้ที่เนื่องจากยังขาดในเรื่องของการจัดการด้านกำลังคน หรือ เครื่องจักร หรือ Supplier อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้ได้ถูกนำไปแก้ไขด้วยระบบ MRP II

                   โดยทั่ว ๆ ไป MRP II จะอ้างถึงระบบทางด้านการเงินด้วย ระบบ MRP II สามารถวางแผนกำลังการผลิตอย่างมีขอบเขตหรือไม่มีก็ได้ แต่ถ้าจะพิจารณาระบบ MRP II อย่างถูกต้องต้องรวมทางด้านการเงินเข้าไปด้วย

                   หลักการของ MRP II หรือ MRP2 การแปรผันของข้อมูลการพยากรณ์จะถูกนำไปคิดด้วยโดยรวมเข้ากับตารางการผลิตหลัก (Master Production Schedule, MPS) อีกประการหนึ่งของระบบ MRP2 ที่จะต้องมีจะต้องรวมไปถึงระบบของการจัดซื้อ, การตลาด และการเงิน (รวมทุก ๆ หน้าที่ที่มีอยู่ในบริษัท) ERP ก็จะเป็นขั้นตอนถัดไป

 

ที่มา http://j-knowledge.blogspot.com/2009/08/material-requirements-planning-mrp.html

ใส่ความเห็น